วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ข้อสอบ 50 ข้อ

1 ) ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งหนัก 10.9 g กลายเป็นน้ำได่หมดที่อุณหภูมิ 0^0C จะสามารถทำให้เอทานอล (C_2H_5OH) กี่กรัม เปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลวได้หมด ณ อุณหภูมิจุดเยือกแข็งของเอทานอล (กำหนดให้ ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำและเอทานอลเท่ากับ 335 และ 109 J/g ตามลำดับ)

1.09
3.35
33.5
109
2 ) บอลลูนลูกหนึ่งบรรจุฮีเลียมเข้าไป 0.095 mol มีปริมาตร 1.90 dm^3 ถ้าเติมไฮโดรเจนเข้าไปอีก 0.125 mol โดยให้ความดันและอุณหภูมิคงที่ บอลลูนจะมีปริมาตรเป้นกี่ลูกบาศก์เดซิเมตร
2.5
4.4
5.0
8.8
3 ) ข้อความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่อุณหภูมิห้อง ข้อใดผิด
แนพทาลีนระเหิดได้เพราะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย
น้ำแข็งไม่ระเหิดเพราะโมเลกุลมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างกัน
ควันที่เกิดจากน้ำแข็งแห้งตั้งทิ้งไว้ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับไอน้ำ
การเปลี่ยนเป็นไอของโลหะปรอทจัดอยู่ในประเภทการระเหิด
4 ) การทำให้แก๊สเป็นของแข็งเร็วขึ้น นอกจากจะลดอุณหภูมิแล้ว ยังใช้วิธีในข้อใดร่วมด้วย
เพิ่มความดัน และลดปริมาตร
เพิ่มความดัน และเพิ่มปริมาตร
ลดความดัน และลดปริมาตร
ลดความดัน และเพิ่มปริมาตร




5 ) แก๊สในข้อใดมีปริมาตรเท่ากับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์หนัก 16 g ปริมาตรทั้งหมดวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
แก๊สฮีเลียมปริมาณ 1 g
แก๊สไฮโดเจนปริมาณ 1 g
แก๊สนีออนปริมาณ10 g
แก๊สออกซิเจนปริมาณ 16 g
6 ) ของเหลวใดมีค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอสูงสุด และเมื่อเปลี่ยนสถานะเป้นแก๊ส สารใดจะมีอัตราการแพร่สูงสุดในสภาวะเดียวกัน
ของเหลว
มวลโมเลกุล
จุดเดือด (°C)
A
78.1
80.1
B
142.6
197.5
C
168.4
222.0
D
215.5
174.0
ความร้อนแฝงกลายเป็นไอสูงสุด
อัตราการแพร่สูงสุด
A
A
ความร้อนแฝงกลายเป็นไอสูงสุด
อัตราการแพร่สูงสุด
C
B
ความร้อนแฝงกลายเป็นไอสูงสุด
อัตราการแพร่สูงสุด
D
C
ความร้อนแฝงกลายเป็นไอสูงสุด
อัตราการแพร่สูงสุด
C
A
7 ) 
แก๊สสมบูรณ์
น้ำหนัก (g)
P (atm)
V (dm 3 )
T (°C)
2.73
0.70
3.0
47
0.14
0.112
1.0
0
2.73
0.51
3.2
27
จากข้อมูลในตารางข้างบน การเรียงลำดับอัตราเร็วในการแพร่ของแก๊สทั้งสามชนิดจากมากไปน้อยเป็นข้อใด
ก ข ค
ข ก ค
ค ก ข
ข ค ก


8 ) เมื่ออัดอากาศที่มี N_2 : O_2 ในอัตราส่วน 5 : 1 โดยปริมาตร ในถังที่มีความจุ 1000 dm^3 ที่ 27 °C ให้มีความดัน 100 atm แล้วลดอุณหภูมิลงถึง -183 °C จน O_2 กลายเป็นของเหลวหมดพอดี ความดันภายในถังขณะนี้มีค่าเท่าใด กำหนดให้ ออกซิเจนเหลวมีปริมาตรน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของถัง

5 atm
6 atm
25 atm
30 atm

9 ) บรรจุแก๊สชนิดหนึ่งหนัก 2.20 g ที่ STP ในภาชนะที่มีปริมาตรค่าหนึ่ง แต่ถ้าบรรจุแก๊สออกซิเจนในภาขนะที่มีปริมาตรเท่ากับใบแรกพบว่าหนัก 1.60 g ที่ STP มวลโมเลกุลของแก๊สดังกล่าวมีค่าเท่าใด

28
32
44
46

10 ) จุดเดือดปกติของสาร A, สาร B และสาร C เท่ากับ 35 °C, 65 °C และ 56 °C ตามลำดับ คำกล่าวใดถูกต้อง
ที่อุณหภูมิ 25 °C ความดันไอของสาร A ต่ำกว่าความดันไอของสาร C
ลำดับของแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารทั้ง 3 ชนิดเป็นดังนี้ สาร B > สาร C > สาร A
ที่ความดันต่ำกว่าความดันไอ ณ จุดเดือดปกติของสาร สาร B จะมีจุดเดือดสูงกว่าจุดเดือดปกติ
สามารถแยกสาร A, B และ C ที่ผสมกันได้ด้วยการกลั่น
11 ) พิจารณากราฟความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วเฉลี่ยและสัดส่วนจำนวนโมเลกุลของแก๊สที่อุณหภูมิต่าง
 50988 ข้อใดสรุปถูก
สัดส่วนจำนวนโมเลกุลแก๊สเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
การเพิ่มอุณหภูมิทำให้ความเร็วเฉลี่ยของแก๊สเพิ่มขึ้น
สัดส่วนจำนวนโมเลกุลที่มีความเร็วเฉลี่ยสูงเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง
จะพบโมเลกุลแก๊สที่มีความเร็วเฉลี่ยสูงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น
12 ) ในการทดลองเกี่ยวกับการละลายต่อไปนี้ใช้สาร 1 g ในน้ำ 10 cm^3 เท่ากัน
สาร
มวลโมเลกุล
อุณหภูมิของสารละลาย°C
น้ำบริสุทธิ์
18
30(ใช้เป็นตัวทำละลาย)
X
40
40
Y
100
45
Z
53
25
ข้อใดถูก
ถ้าใช้สารเพิ่มเป็น 2 g อุณหภูมิของสารละลายจะเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 80 °C
ถ้าสารละลายของ X และ Y เข้มข้น 1 mol/dm3 เท่ากัน พลังงานที่คายออกมาในกรณีของ X จะมากกว่า Y
การละลายของ Z เป็นการดูดพลังงาน
ถ้าเพิ่มมวลของ Z และปริมาณของน้ำเป็น 2 เท่าของของเดิม อุณหภูมิของสารละลายจะลดลงอีก 5 °C
13 ) ขั้นตอนในกระบวนการทำน้ำแข็งแห้งจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบด้วย
ก. ทำให้แห้งและบริสุทธิ์ ข. อัดผ่านรูพรุน ค. เพิ่มความดันและลดอุณหภูมิ
การเรียงลำดับขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย ข้อใดถูก
, ข และ ก
, ก และ ค
, , ข และ ค
, , ค และ ข
14 ) 50991 ในการสอนวิทยาสาสตร์ชั่งโมงหนึ่ง ครูได้สาธิตโดยใช้ปั๊มดูดอากาศออกจากหลอดทดลองที่สวมกันอยู่ 2 ชั้น หลอดชั้นในมีน้ำบรรจุอยู่ เมื่อดูดอากาศออกสักพักปรากฏว่าเริ่มมีเกล็ดน้ำแข็งเกิดขึ้น กระบวนการใดใช้อธิบายผลการทดลองนี้ได้

การแพร่
การระเหย
การตกผลึก
สมดุลไดนามิก


15 ) กราฟแสดงความสัมพันธ์ของความสามารถในการละลายน้ำของเกลือ A, B, C และ D เป็นดังนี้
 50992
ข้อใดสรุปผิด
อุณหภูมิมีผลต่อการละลายของเกลือ A มากกว่าการละลายของเกลือ C
เกลือ B ละลายน้ำได้ดีกว่าเกลือ C ทุกอุณหภูมิ
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เกลือ B ละลายน้ำได้มากขึ้น
การละลายของเกลือ D เป็นกระบวนการดูดความร้อน

16 ) พิจารณากราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับพลังงานที่ให้แก่สาร A 1 โมล
 50993 
ข้อใดสรุปถูก
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของ A มีค่าเท่ากับ E1 – E2 kJ
ของเหลว A ที่อุณหภูมิ Y °C เปลี่ยนเป็นของเหลว A ที่อุณหภูมิ X °C ต้องคายพลังงานออกมาเท่ากับ E2 – E3 kJ
ของเหลว A ที่อุณหภูมิ Y °C ใช้พลังงาน E4 – E3 kJ เพื่อเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอที่ Y °C
ไอของสาร A เปลี่ยนสถานะกลายเป็นของแข็ง A ต้องคายพลังงาน E4 – E2 kJ



17 ) ถ้าต้องการให้ปริมาตรของก๊าซสัมบูรณ์ที่ STP เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า โดยการลดความดันลง 25 % จะต้อง
ปล่อยให้ก๊าซนี้อยู่ที่อุณหภูมิกี่องศาเซลเซียส
273
546
819
18 ) ของเหลวบริสุทธิ์ A มีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลวบริสุทธิ์ B เมื่อนำของเหลวทั้งสองมาผสมกันในอัตราส่วนหนึ่ง
ปรากฏว่าของเหลวผสมมีจุดเดือดคงที่ที่ต่ำกว่าทั้งของ A และ B ลักษณะกราฟความดันไอของ A, B และ A + B ในข้อใดเป็นไปได้
50997
50998
50999
51000





19 ) ถ้าต้องการก้อนน้ำแข็งแห้งปริมาตร 2.5 dm3 1 ก้อน จะต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรจุในถังจุ 50 dm3 ที่มีความดัน 15 atm จำนวนกี่ถัง กำหนดความหนาแน่นของน้ำแข็งแห้งเป็น 0.88 g/cm3
1.5 ถัง
1.7 ถัง
2.0 ถัง
2.25 ถัง

20 ) ในการศึกษาสมบัติการแพร่ของก๊าซ ก และ ข ที่อุณหภูมิ 30 °C ได้ข้อมูลดังนี้
ก๊าช
มวลโมเลกุล
เวลา (s)
ระยะทาง (cm)
x
30
a
y
30
b
ถ้าผลการทดลองปรากฏว่าก๊าซ ก แพร่ได้เร็วกว่าก๊าซ ข แล้ว ข้อใดถูกต้อง
a < b , x < y
a < b , x > y
a > b , x > y
a > b , x < y
21 ) ถ้าแยกสารละลายกรดH_2SO_4 เจือจางด้วยกระแสไฟฟ้า จะได้ก๊าซ H_2 และ O_2 ดังสมการรวม 2H_2O rightarrow  2H_2   +   O_2 จากการทดลอง เก็บก๊าซทั้งสองไว้จนได้ก๊าซ H_2 182 cm^3 ที่ STP แล้วจึงถ่ายก๊าซทั้งหมดใส่ขวดแก้วสุญญากาศจุ dm^3 ที่อุณหภูมิ 27 °C ความดันของก๊าซในขวดแก้วขณะนี้เป็นกี่บรรยากาศ
0.1
0.15
0.2
1.35 x 10^{-2}
22 ) ก๊าซไฮโดรเจน 4.0 g ผสมกับก๊าซฮีเลียมไม่ทราบน้ำหนักที่ STP ถ้าบรรจุก๊าซไฮโดรเจนลงไปในก๊าซผสมนี้อีก 10.0 g จะทำให้ปริมาตรของก๊าซผสมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในก๊าซผสมนี้จะมีก๊าซฮีเลียมกี่กรัม
3
6
12
24



23 ) ในการทดลองศึกษาผลของอุณหภูมิและความดันที่มีต่อปริมาตร โดยเก็บก๊าซในกระบอกฉีดยาซึ่งปลายปิดสนิท ณ อุณหภูมิห้อง ถ้าปริมาตรเปลี่ยนแปลงตามเวลาดังกราฟ แสดงว่าขั้นตอนการทดลองน่าจะเป็นดังข้อใด (ช่วงที่ปริมาตรคงที่ในกราฟคือช่วงพักการทดลอง)
 51023
ข้อที่
ขั้นที่ 1
ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 3
1
เพิ่มความดัน
เพิ่มอุณหภูมิ
ลดความดัน
2
ลดความดัน
เพิ่มอุณหภูมิ
เพิ่มอุณหภูมิ
3
ลดอุณหภูมิ
เพิ่มความดัน
เพิ่มความดัน
4
เพิ่มความดัน
ลดอุณหภูมิ
เพิ่มอุณหภูม
1
2
3
4
24 ) พิจารณาข้อมูลและกราฟ
 51026 
ถ้า T_R เป็นอุณหภูมิห้อง ข้อใดถูก 
51027
1
2
3
4

25 ) ถ้านำก๊าซชนิดหนึ่งมาทำให้ความดัน ปริมาตรและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยให้มวลคงที่ค่าความดัน (P) ปริมาตร (V) และอุณหภูมิ (T) ที่เกิดขึ้นใหม่ในข้อใดไม่ถูกต้อง

P (atm)
(cm^3)
T (K)
1
คงเดิม
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
2
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ลดลงเป็น displaystylefrac{1}{2} เท่า
คงเดิม
3
ลดลงเป็น displaystylefrac{1}{2} เท่า
เพิ่มขึ้นเป็น displaystyle1frac{1}{2} เท่า
ลดลงเป็น displaystylefrac{3}{4} เท่า
4
ลดลงเป็น displaystylefrac{2}{3} เท่า
เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท้า
ลดลงเป็น displaystylefrac{1}{2} เท่า
1
2
3
4
26 ) กำหนดตารางแสดงอุณหภูมิ ณ ความดันไอต่าง ๆ ของสาร ก. ข. และ ค. เป็นดังนี้

สาร
อุณหภูมิ (°C) ณ ความดันไอ
1 mm Hg
40 mm Hg
760 mm Hg
-31.3
x
78.4
a
34.1
c
-2.3
19.0
d
ข้อใดถูกต้อง
a < 34.1 < c และ x > 19.0
-31.3 < x < 78.4 และ c > d
78.4 < c < d และ c > 34.1
-31.3 < a < -2.3 และ d > -2.3




27 ) ในการทดลองศึกษาสมบัติของก๊าซ ได้ผลดังตาราง 
51033 
ข้อใดถูกต้อง
b = d , r = เพิ่มขึ้น , x = ลดลง
c = e , b = เพิ่มขึ้น , d = ลดลง
r = x , s = เพิ่มขึ้น , y = ลดลง
s = y , e = เพิ่มขึ้น , e = ลดลง
28 ) ถ้าต้องการให้ปริมาตรของก๊าซสมบูรณ์ที่ STP เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยการลดความดันลง 25 % จะต้องกระทำที่อุณหภูมิเท่าใด
136.5 เคลวิน
273.0 เคลวิน
204.8 เคลวิน
409.5 เคลวิน
29 ) ในการศึกษาสมบัติการแพร่ของก๊าซ HCl , NO , H_2S , C_2H_2 และ SO_2 ลำดับอัตราเร็วการแพร่ของก๊าซเป็นดังข้อใด
SO_2 < NO_2 < HCl < H_2S < C_2H_2
NO_2 > HCl > SO_2 > C_2H_2 > H_2S
HCl > NO_2 > H_2S > C_2H_2 > SO_2
H_2S > SO_2 > C_2H_2 > NO_2 > HCl

30 ) สารละลาย dm^3 มี KCl ละลายอยู่แล้ว 45 g จากข้อมูลที่กำหนดให้ จะต้องเติม KCl ลงไปอีกกี่กรัม จึงจะทำให้สารละลายอิ่มตัวที่ อุณหภูมิ 80 °C (สมมติให้ปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลง)
405
450
495





31 ) จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันไอและอุณหภูมิของสาร A , B , C ข้อใดถูก
 51036
สาร B และ C มีจุดเดือดปกติต่างกัน 20 °C
ที่อุณหภูมิ 70 °C สารที่มีจุดเดือดกลายเป็นไอหมด คือ A และ B
ต้มสาร B บนภูเขาที่มีความดันบรรยากาศ 600 mmHg B จะเดือดที่อุณหภูมิประมาณ 60 °C
ที่อุณหภูมิห้อง สาร A มีสภาพเป็นก๊าซ เพราะมีจุดเดือดต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง
32 ) ถ้าบรรจุกาซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจนมวลเท่ากัน ลงในภาชนะ 2 ใบ ที่มีปริมาตรเท่ากัน และอุณหภูมิเดียวกัน
ข้อใดสรุปถูกต้อง
ภายในภาชนะทั้งสองมีจำนวนโมเลกุลของก๊าซเท่ากัน
ก๊าซไนโตรเจนมีพลังงานจลน์เฉลี่ยมากกว่าก๊าซออกซิเจน
ความดันภายในภาชนะที่บรรจุก๊าซไนโตรเจนจะมีค่ามากกว่าความดันภายในภาชนะที่บรรจุก๊าซออกซิเจน
โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าโมเลกุลของก๊าซไนโตรเจน

33 ) ถ้าก๊าซ X , Y และ Z มีปริมาตรเท่ากัน ภายใต้อุณหภูมิและความดันเดียวกัน ถ้า M แทนมวลโมเลกุล และ R แทนอัตราการแพร่ของก๊าซ ข้อใดเป็นไปได้
 51039
1
2
3
4





34 ) ตารางแสดงจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารบริสุทธิ์ 4 ชนิดเป็นดังนี้
สาร
จุดหลอมเหลว (°C)
จุดเดือด (°C)
A
-100
-35
B
-7
58
C
-6
225
D
44
280
ที่อุณหภูมิห้องสารใดอยู่ในสถานะเป็นของเหลวที่ระเหยได้ง่าย
A
B
C
D
35 ) รูปต่อไปนี้แสดงการจัดเรียงตัวของโมเลกุลของสารที่ความดัน 1 atm แต่มีอุณหภูมิต่างกัน รูปดังกล่าวแสดงการจัดเรียงตัวของโมเลกุล51040
1
2
3
4


36 ) กำหนดให้
สาร
อุณหภูมิ (°C)
พลังงาน (kJ/mol)
น้ำแข็ง
0
a
น้ำ
0
b
น้ำ
100
c
ไอน้ำ
100
d
ถ้าน้ำแข็งที่ 0 องศาเซลเซียสเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำที่ 100 องศาเซลเซียสที่ความดัน 1 บรรยากาศจะต้องใช้พลังงานกี่กิโลจูลต่อโมล
a + b + c + d
d – c + b – a
c + d – a + d
d – a

37 ) คำชี้แจง ข้อมูลต่อไปนี้ประกอบการตอบคำถามข้อ 37
กระบวนการ
การเปลี่ยนแปลง
พลังงานที่ใช้
( กิโลจูล )
1
น้ำแข็ง 5 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำที่ 5 กิโลกรัม ที่ 0 °C
a
2
น้ำ 10 กิโลกรัมที่ 25 °C ทำให้ร้อนขึ้นจนมีอุณหภูมิเป็น 50 °C
b
3
น้ำร้อน 100 °C 2 กิโลกรัมกลายเป็นไอน้ำที่ 2 กิโลกรัมที่ 100 °C
c
กำหนดให้ ค่าความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำ = 0.33 กิโลจูล/กรัม ค่าความจุความร้อนของน้ำ = 4.2 กิโลจูล/กิโลกรัม.องศาเซลเซียส ค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอน้ำ = 2268 กิโลจูล/กิโลกรัม จงเรียงลำดับกระบวนการที่ต้องการพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงจากมากไปน้อย
a , b , c
b , a , c
c , b , a
c , a , b





38 ) พิจารณาแผนภาพการถ่ายเทพลังงานในการเปลี่ยนสถานะของน้ำที่ความดัน 1 บรรยากาศ
 51041 
จงเลือกขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานในรูปของความร้อนแฝง
1 , 2 , 4 และ 7
3 , 5 , 6 และ 8
2 , 4 และ 7
3 , 6 และ 8
39 ) เมื่อนำของแข็งไปหลอมเหลว พลังงานจะถูกดูดเข้าไปเพื่ออะไร
ลดพลังงานจลน์ของระบบ
ทำให้ปริมาตรของของแข็งเพิ่มขึ้น
ทำให้โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงกว่าแรงดึงดูดระหว่างกัน
ทำให้มีลักษณะเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
40 ) ความแตกต่างของสิ่งใดที่มีผลให้กำมะถันมีรูปผลึกสองแบบ
จำนวนมวลอะตอม
พลังงานจลน์
การจัดเรียงโมเลกุล
จำนวนโมเลกุล
41 ) ความดันไอของของเหลว A , B , C เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ดังกราฟ ข้อใดถูก
 51043
ของเหลว A มีจุดเดือดปกติต่ำกว่าของเหลว B และ C
ของเหลวทั้งสามชนิดมีจุดเดือดปกติสูงกว่า T1 แต่ต่ำกว่า T2
ที่ความดันบรรยากาศสูงกว่า 1 บรรยากาศ ของเหลว B จะมีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลว A และ C
ที่ความดันบรรยากาศต่ำกว่า 1 บรรยากาศของเหลวผสม A กับ C จะเริ่มเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด (ที่ความดันเดียวกัน) ของของเหลว B เสมอ


42 ) ภายใต้อุณหภูมิและความดันเดียวใดที่ก๊าซจริงประพฤติคล้ายกับเป็นก๊าซสมมติ
ที่อุณหภูมิสูงและความดันต่ำ
ที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง
ที่อุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ
ที่อุณหภูมิสูงและความดันสูง
43 ) 43. แผนภาพต่อไปนี้แสดงการทดลองเพื่อศึกษาความดันไอของของเหลว A , B และ C
51044 
พิจารณาข้อความต่อไป ก. ของเหลว B มีความดันไอสูงที่สุด ข. ของเหลว A มีจุดเดิอดต่ำที่สุด ค.ของเหลว C มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวB ง. ของเหลว A ระเหยยากกว่าของเหลวC ข้อใดสอดคล้องกับผลการทดลอง
ข และ ค เท่านั้น
ค และ ง เท่านั้น
ก ข และ ค
ข ค และ ง
44 ) ภาชนะ 2 ใบ ซึ่งมีปริมาตรเท่ากันบรรจุแก๊สต่างกัน ที่ความดันเดียวกัน ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูก
ภาชนะทั้ง 2 ใบ จะต้องมีอุณหภูมิเท่ากัน
ภาชนะทั้ง 2 ใบ จะต้องมีแก๊สที่มีมวลเท่ากัน
ถ้าภาชนะทั้ง 2 ใบ มีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน ภาชนะทั้ง 2 ใบ จะต้องมีอุณหภูมิเท่ากัน
ถ้าภาชนะทั้ง 2 ใบ มีแก๊สที่มีมวลเท่ากัน ภาชนะทั้ง 2 ใบ จะต้องมีอุณหภูมิเท่ากัน

45 ) ภาชนะ 2 ใบ มีแก๊สบรรจุอยู่ ถ้าทำให้ภาชนะใบที่ 1 มีอุณหภูมิสูงกว่าใบที่ 2 ผลจากการทดลองพบว่าความเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สในภาชนะทั้งสองเท่ากัน จะสรุปผลการทดลองนี้ได้อย่างไร
โมเลกุลของแก๊สในภาชนะใบที่ 2 มีพลังงานจลน์เฉลี่ยสูงกว่าโมเลกุลของแก๊สในภาชนะใบที่ 1
โมเลกุลของแก๊สในภาชนะใบที่ 1 มีมวลรวมกันมากกว่าโมเลกุลของแก๊สในภาชนะใบที่ 2
พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สในภาชนะทั้ง 2 ใบเท่ากัน
ผลการทดลองไม่ถูกต้อง เพราะทฤษฏีจลน์ของแก๊สกล่าวว่าความเร็วเฉลี่ยของแก๊สที่อุณหภูมิต่างกันจะต้องไม่เท่ากัน




คำชี้แจง   ข้อความต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 46 – 47

กระเปาะ A จุ 3 ลิตร กระเปาะ B จุ 2 ลิตร เชื่อมต่อกันด้วยหลอดแก้วขนาดเล็กมาก มีลิ้นปิดเปิดแต่ละด้าน มีหน้าปัดอ่านค่าความดันภายใน

51046
46 ) ถ้ากระเปาะ A บรรจุก๊าซที่มีความดัน 1 บรรยากาศ ส่วนภายในกระเปาะ B เป็นสูญญากาศ เมื่อเปิดลิ้นให้ต่อถึงกัน ความดันภายในภาชนะจะเป็นกี่บรรยากาศ
displaystylefrac{3}{5}
displaystylefrac{5}{3}
displaystylefrac{1}{3}
displaystylefrac{1}{5}

47 ) ถ้ากระเปาะ A บรรจุแก๊ส NO ที่ความดัน 1 บรรยากาศ และกรเปาะ B บรรจุแก๊ส O2 ที่ความดัน 1 บรรยากาศ แล้วเปิดลิ้นให้ต่อถึงกันความดันภายในภาชนะจะเป็นกี่บรรยากาศ
displaystylefrac{7}{10}
1
displaystylefrac{1}{10}
displaystylefrac{2}{3}








48 ) นักเรียนกลุ่มหนึ่งศึกษาเรื่องการแพร่ของแก๊สโดยนำขวดปากแคบขนาดเท่ากัน แต่ละขวดบรรจุของเหลว 1 ชนิด ปริมาตร 1 cm3 ซึ่งอยู่ในภาวะสมดุลของไอของของเหลวนั้นไปวางที่มุมห้องๆ ละ 1 ขวด แต่ละห้องมีเครื่องตรวจวัดว่าไอของสารแพร่ไปได้เป็นระยะเท่าใดที่เวลาต่าง ๆ เมื่อเปิดขวดทิ้งไว้ครึ่งนาที ก็วัดระยะที่ไอของของเหลวแพร่ไปถึงพร้อมทั้งสูดกลิ่นของสารในห้องนั้น
51050 
ข้อใดสรุปถูกต้อง
ระยะที่วัดได้จะเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
ระยะที่วัดได้จะลดลงเมื่อจุดเดือดของสารเพิ่มขึ้น
ในห้องที่ไม่มีกลิ่นของสาร แสดงว่าไม่มีการแพร่ของแก๊สเกิดขึ้น
กลิ่นเป็นสมบัติของแก๊ส การได้กลิ่นสารเป็นผลมาจากการแพร่ของแก๊สนั้น
49 ) ภาชนะบรรจุแก๊สต่อถึงกันดังรูป เมื่อเปิดลิ้น A และ B ที่สมดุลใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ความดันเพิ่มขึ้น อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ความดันลดลง อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ความดันลดลง อุณหภูมิลดลง
ความดันเพิ่มขึ้น อุณหภูมิลดลง

50 ) เมื่อบรรจุแก๊ส 3 ชนิด คือ แอมโมเนีย ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ในลูกโป่ง 3 ใบ ใบละชนิด โดยควบคุมให้ลูกโป่งมีปริมาตรเท่ากัน แล้วปล่อยลูกโป่งทั้ง 3 ใบ ไว้ค้างคืนในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและความดันให้คงที่ วันรุ่งขึ้นพบว่าลูกโป่งทุกใบมีขนาดเล็กลง ลูกโป่งที่บรรจุแก๊สแอมโมเนียมีขนาดเล็กสุด ส่วนลูกโป่งที่บรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีขนาดใหญ่สุด พิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้ ก. มีการแพร่ของแก๊สเกิดขึ้น ข. อัตราการแพร่ของแก๊สเป็นดังนี้ NH_3 > O_2 > CO_2 ค. คาร์บอนไดออกไซด์มีมวลโมเลกุลมากจึงแพร่ได้ช้า ง. แอมโมเนียสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุล ปริมาตรของแก๊สจึงลดลง
ก และ ข เท่านั้น
ค และ ง เท่านั้น
, ข. และ ค.
, ค. และ ง.